www.3plusformandit.com




Welcome To 3PLUS FORM & IT Official Website

           
กระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์

          เป็นการผลิตสิ่งพิมพ์ต่างๆ ให้ได้ตามรูปแบบและจำนวนที่ต้องการ ซึ่งการผลิตสิ่งพิมพ์จะเริ่มต้นจากการรับต้นฉบับที่เป็นอาร์ตเวิร์ค และสิ้นสุดเป็นชิ้นงานสำเร็จรูป โดยมีขั้นตอนหลัก 3 ขั้น ดังนี้

                    1. ขั้นตอนก่อนพิมพ์ (Pre - Press) เป็นขั้นตอนการเตรียมงานและเตรียมข้อมูล รวมทั้งการทำแม่พิมพ์ ก่อนจะนำเข้าสู่เครื่องพิมพ์ ได้แก่ การเตรียม
                        ข้อมูลการออกแบบ จัดแบบ ตกแต่งภาพ ตรวจปรู๊ฟ พิสูจน์อักษร รวมถึงการทำแม่พิมพ์ หรือเพลท

                    2. ขั้นตอนพิมพ์ (Press) เป็นขั้นตอนการสั่งพิมพ์ โดยผ่านเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ต ซึ่งโรงพิมพ์จะเลือกใช้เครื่องพิมพ์ตามความเหมาะสมของแต่ละ
                        งาน

                    3. ขั้นตอนหลังพิมพ์ (Post - Press) เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะทำให้งานออกมาเป็นรูปสำเร็จตามแบบที่ลูกค้าต้องการ เช่น การเคลือบ
                         (เช่น เคลือบวานิชยูวียูวีเฉพาะจุด หรือ พีวีซีเงา พีวีซีด้าน) งานปั๊มหรือไดคัท (ปั๊มนูน ปั๊มจม ปั๊มเงิน ปั๊มทอง หรือ ปั๊มไดคัท) การพับ (พับกี่ครั้ง กี่ตอน)
                         การเข้าเล่ม(กาวหัวย็บมุงหลังคา ไสกาว เย็บกี่) ตีเบอร์ (Running Number) รวมถึงขั้นตอนการบรรจุหีบห่อเพื่อการจัดส่ง


กระดาษที่ใช้ในการผลิต
     ชนิดกระดาษที่นิยมใช้ในการพิมพ์แบบฟอร์ม สามารถจำแนกเป็น

                    1) กระดาษแบ๊งค์ (Bank Paper) เป็นกระดาษบางไม่เคลือบผิว น้ำหนักไม่เกิน 50 กรัม/ตารางเมตร มีสีให้เลือกหลายสี ใช้สำหรับงานพิมพ์แบบ
                         ฟอร์มต่าง ๆ ที่มีสำเนาหลายชั้น

                    2) กระดาษปอนด์ (Bond Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีที่ผ่านการฟอก มีสีขาว น้ำหนักอยู่ระหว่าง 60 - 100 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับ
                         งาน พิมพ์ที่ต้องการความสวยงามปานกลาง พิมพ์สีเดียวหรือหลายสีก็ได้

                    3) กระดาษอาร์ต (Art Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และเคลือบผิวให้เรียบด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน
                          การเคลือบ อาจจะเคลือบมันเงาหรือแบบด้านก็ได้ มีสีขาว น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 - 160 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความ
                          สวยงาม งานพิมพ์ สอดสี เช่นแคตตาล็อก โบรชัวร์

                    4) กระดาษเคมีในตัว หรือ เอ็นซีอาร์ (NCR - Carbonless Paper) เป็นกระดาษที่มีสำเนาในตัว สามารถเขียนติดแผ่นล่างได้ เหมาะกับงานบิล
                          มีหลายสี เช่น ขาว เขียว ชมพู เหลือง ฟ้า ปัจจุบันนิยมใช้แทนกระดาษปอนด์สอดคาร์บอน เนื่องจากสะดวกในการใช้งานและไม่สกปรก โดย
                          กระดาษ NCRที่นิยมใช้ในงานพิมพ์แบบฟอร์ม เช่น Phoenix (Oji), Tupco (Thai Paper) และ CNP (Cotco NCR Paper) เป็นต้น

                    5) กระดาษสติ๊กเกอร์ (Sticker Paper) มีทั้งแบบมันและด้าน ด้านหลังมีกาวใช้ติดกับวัสดุ

                    6) กระดาษกันปลอม (Security Paper) เป็นกระดาษพิเศษสำหรับงานพิมพ์เอกสารป้องกันการปลอมแปลงหรือปลอดการทำเทียม

อธิบายเกี่ยวกับโหมดสี RGB และระบบสี CMYK
          กล่าวถึงความแตกต่างระหว่าง RGB และ CMYK ซึ่งโดยทั่วไปมักจะคิดว่าสีที่ได้จากการพิมพ์จะต้องเหมือนกันกับบนหน้าจอที่เห็น ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง และจะขออธิบายโดยสรุปอย่างง่ายๆ ดังนี้

          โหมดสี RGB ย่อมาจาก Red(สีแดง) Green(เขียว) Blue(ฟ้า) คือ กระบวนการผสมสีจากแม่สี 3 สีดังกล่าว(ซึ่งเมื่อนำมาผสมรวมกันที่ความเข้มสูงสุดจะได้สีขาว) การใช้สัดส่วนของสี 3 สีนี้ต่างกัน จะทำให้เกิดสีต่างๆ ได้อีกมากมาย โหมดสี RGB จะถูกนำไปใช้กับสื่อที่ใช้ระบบแสงแสดงภาพ เช่น ทีวี คอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายภาพ โปรเจคเตอร์ เป็นต้น ซึ่งภาพที่แสดงออกมาจะมีลักษณะที่แสงด้านหลังของเครื่องส่องผ่าน ทำให้สีออกมาสดมาก ๆ เช่น สีแดง จะออกเป็นแดงที่จัดมาก

          ระบบสี CMYK ย่อมาจาก Cyan(ฟ้าอมเขียว) Magenta(แดงอมม่วง) Yellow(เหลือง) Black(ดำ) เป็นระบบสีที่ได้รับความนิยมใช้กับเครื่องพิมพ์ เช่น เครื่องพิมพ์ อ๊อฟเซ็ท(Offset Printing) ระบบ CMYK ซึ่งเป็นชื่อสีที่นำมาใช้การผสมสีทั้งสี่นี้ จะทำให้เกิดสีได้อีกหลายร้อยสี(ซึ่งเมื่อนำมาผสมรวมกันที่ความเข้มสูงสุดจะได้สีดำ) ระบบสี CMYK นำมาใช้ในการพิมพ์สีต่าง ๆ ซึ่งเป็นสีที่เรามองเห็นบนวัตถุต่าง ๆ เช่น กระดาษ ภาพที่ออกมาหากเทียบง่ายๆ เหมือนเอาสีมาอยู่วัตถุทึบแสง ที่ไม่มีแสงส่องผ่าน ทำให้สีที่ออกมาเป็นลักษณะ ทึมๆ นิดๆ เช่น สีแดง จะออกมาไม่สดเหมือนประเภทสีของโหมด RGB ซึ่งหากนำไปใช้ในงานออกแบบ ควรตั้งประเภทของหมวดสีให้ถูกต้อง ดังนี้

                    - RGB (สีของแสง) เหมาะสำหรับงาน ออกแบบเว็บไซต์, ทำสื่อ Presentation, ออกแบบ Animation เป็นต้น

                    - CMYK (สีของสาร) เหมาะสำหรับงาน สื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด เช่น Brochure, แผ่นพับ เป็นต้น

วิธีการวัดขนาดกระดาษต่อเนื่อง กว้าง x ยาว (นิ้ว)

วิธีการวัดขนาดสมุดพาสบุ๊ค กว้าง x ยาว (เซนติเมตร)

สีที่ใช้ในการพิมพ์มีให้เลือกหลากหลายแบบ

Untitled Document